Park-Kachen

01 มีนาคม 2554

สรุปสิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

จากที่ได้ฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่สถานประกอบการ : บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7  สี) ข้าพเจ้าได้นำความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานธุรกิจ และด้านอื่นๆ ดังนี้


1.การตรงต่อเวลา
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพในครั้งนี้ทำให้รู้ถึงชีวิตของการทำงานจริง สิ่งสำคัญอย่างยิ่งนั่นคือการตรงต่อเวลานั่นเอง หากมาทำงานสาย บุุคคลอื่นก็จะมองเป็นคนไม่มีความรับผิดชอบ อีกทั้งสถานที่ฝึกงานพี่ๆทุกคนเป็นคนตรงต่อเวลามาก ช่วยทำให้เรากระตุ้นต่อการทำงานได้เป็นอย่างดี

2. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
งานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละครั้งควรให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้ตั้งเอาไว้ ต้องเสร็จก่อน 1 หรือ 2 วัน อะไรควรทำก่อน/หลัง

3. กิริยามารยาท
ในการพูดคุยกับผู้ใหญ่ควรพูดจาด้วยความไพเราะ เสมอ ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส หรือในเรื่องมารยาทของการแต่งกายก็ควรให้เกียรติต่อสถานที่

4. ความอดทนอดกลั้น
ในทำงานจะต้องทำงานซ้ำๆ อยู่สม่ำเสมอ ความอดทนอดกลั้นสามารถเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจทำให้งานนั้นๆประสบความสำเร็จได้

5. การอยู่ร่วมอยู่กับผู้อื่น
ทำให้รู้จักการวางตัวให้เข้ากับคนทุกคนได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าในเรื่องใดๆก็ตามกล้าที่จะถามปัญหา หรือสิ่งที่เราอยากสอบถาม สิ่งใดที่เขาสอนหรือแก้ไขก็ควรนำไปปฏิบัติ ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งของการสร้่างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

6. สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมานำไปปฏิบัติงานจริง
posted by Park-Kachen at 10:51 0 comments

28 กุมภาพันธ์ 2554

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 18

วันที่ 28กุมภาพันธ์ 2554


ไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว  มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้ก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง อัพเดทข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศและข่าวกีฬา รวมทั้งหมด 22 ข่าว  อัพเดทข่าวละคร ป่านางเสือ Backup ข้อมูลลง DVD

ปัญหาและอุปสรรค์
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานเกิด Error ขณะทำการอัพเดทข่าว
วิธีแก้ไขปัญหา
1 ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่









posted by Park-Kachen at 11:03 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 8

วันที่ 20 - 24 ธันวาคม 2553

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้นก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง มีพิมพ์ข่าว 5 ข่าว ตัดคลิปข่าวในประเทศ และข่าวเที่ยงบันเทิงทั้งหมด 124 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน อัพเดทข่าวในประเทศ 73 ข่าว อัพเดทรายการ ที่นี่หมอชิต คนอวดผี



ปัญหาและอุปสรรค์
1 มีบางข่าวที่หาจากเครือง Server กลางแล้วไม่มี

วิธีแก้ไขปัญหา
1 ทำการพิมพ์ข่าวตามบทข่าวที่ได้รับมา



posted by Park-Kachen at 10:57 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 16

วันที่ 14 - 17 กุมภาพันธ์ 2554


ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้ก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง  อัพเดทข่าว ทั้งหมด 12 ข่าว ตัดคลิปข่าวทั้งหมด 107 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน
อัพเดทรายการ คลับสุขภาพ  Backup ข้อมูลจากเครืองกลาง ไรท์ใส่แผ่น DVD


ปัญหาและอุปสรรค์
1 ในการ Backup ข้อมูลจากเครืองกลางลงแผ่นใช้เวลานาน
วิธีแก้ไขปัญหา
1 ทำการสร้างให้เป็นอิมเมจไฟล์ก่อนแล้วค่อยไรท์ใส่แผ่น
posted by Park-Kachen at 10:55 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 17

วันที่ 21 - 25 กุมภาพันธ์ 2554


ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้ก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง อัพเดทข่าว ทั้งหมด 25 ข่าว ตัดคลิปข่าวทั้งหมด 62 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน

อัพเดทรายการ กระจกหกด้าน เกมส์พันหน้า คบเด็กสร้างบ้าน 7 สีคอนเสิร์ต โปรแกรมหังรอบเช้า Backup ข้อมูลจากเครืองกลาง ไรท์ใส่แผ่น DVD


ปัญหาและอุปสรรค์
1 ในการ Backup ข้อมูลจากเครืองกลางลงแผ่นใช้เวลานาน

วิธีแก้ไขปัญหา
1 ทำการสร้างให้เป็นอิมเมจไฟล์ก่อนแล้วค่อยไรท์ใส่แผ่น


posted by Park-Kachen at 10:54 0 comments

20 กุมภาพันธ์ 2554

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 15

วันที่ 7 - 11 กุมภาพันธ์ 2554

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้ก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง มีพิมพ์ข่าว 2 ข่าว อัพเดทข่าว ทั้งหมด 5 ข่าว ตัดคลิปข่าวทั้งหมด 105 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน

ปัญหาและอุปสรรค์
1 มีข่าวที่ค้นหาจากเครื่อง Server กลางแล้วไม่มี

วิธีแก้ไขปัญหา
1 ทำการพิมพ์ข่าวตามบทที่ได้รับมาจากฝ่ายข่าว
posted by Park-Kachen at 09:29 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 14

วันที่ 31 - 4 กุมภาพันธ์ 2554

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้นก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง มีพิมพ์ข่าว 2 ข่าว  ตัดคลิปข่าวในประเทศ และข่าวเที่ยงบันเทิงทั้งหมด 57 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน อัพเดทข่าวในประเทศ 21 ข่าว




ปัญหาและอุปสรรค์
1 อัพเดทข่าวแล้วภาพและคลิปข่าวไม่ขึ้นที่หน้าเว็บไซต์

วิธีแก้ไขปัญหา
1 บอกพี่ว่าภาพและคลิปไม่ขึ้นหน้าเว็บเพื่อแจ้งปัญหานี้ไปที่ฝ่ายมีเดียเพื่อทำการแก้ไข
posted by Park-Kachen at 09:27 0 comments

07 กุมภาพันธ์ 2554

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 13

วันที่ 24 - 28 มกราคม 2554

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้นก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง  ตัดคลิปข่าวในประเทศ 15 คลิป และข่าวเที่ยงบันเทิง 5 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน อัพเดทรายการ กระจกหกด้าน รูปสวยรวยรส ณสยาม ร้อยเรื่องเมืองไทย

ปัญหาและอุปสรรค์
1 อัพเดทข่าวแล้วภาพและคลิปข่าวไม่ขึ้นที่หน้าเว็บไซต์

วิธีแก้ไขปัญหา
1 บอกพี่ว่าภาพและคลิปไม่ขึ้นหน้าเว็บเพื่อแจ้งปัญหานี้ไปที่ฝ่ายมีเดียเพื่อทำการแก้ไข




posted by Park-Kachen at 06:18 0 comments

30 มกราคม 2554

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 12

วันที่ 17-21 มกราคม 2554

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้นก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง ตัดคลิปข่าวในประเทศ  และข่าวเที่ยงบันเทิงทั้งหมด 68 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน อัพเดทรายการ คนอวดผี ปลดหนี้

ปัญหาและอุปสรรค์
1 อัพเดทข่าวแล้วภาพและคลิปข่าวไม่ขึ้นที่หน้าเว็บไซต์

วิธีแก้ไขปัญหา
1 บอกพี่ว่าภาพและคลิปไม่ขึ้นหน้าเว็บเพื่อแจ้งปัญหานี้ไปที่ฝ่ายมีเดียเพื่อทำการแก้ไข




posted by Park-Kachen at 06:47 0 comments

27 มกราคม 2554

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 11

วันที่ 10 - 14 มกราคม 2554

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้นก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง  ตัดคลิปข่าวในประเทศ  85 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน อัพเดทรายการเพลง 7 สีคอนเสร์ต ราการวาไรตี้ เกมส์พันหน้า

ปัญหาและอุปสรรค์
1 อัพเดทข่าวแล้วภาพและคลิปข่าวไม่ขึ้นที่หน้าเว็บไซต์
2 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เมื่อใช้งานนานๆก็เกิดอาการ Error

วิธีแก้ไขปัญหา
1 บอกพี่ว่าภาพและคลิปไม่ขึ้นหน้าเว็บเพื่อแจ้งปัญหานี้ไปที่ฝ่ายมีเดียเพื่อทำการแก้ไข
2 ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่




posted by Park-Kachen at 07:42 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 10

วันที่ 4 - 7 มกราคม 2554

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้นก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง  ตัดคลิปข่าวในประเทศ และข่าวเที่ยงบันเทิงทั้งหมด 135 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน อัพเดทข่าวในประเทศ 49 ข่าว อัพเดทรายการ กระจกหกด้าน ณสยาม คิดคิดคิด รูปสวยรวยรส



ปัญหาและอุปสรรค์
1 อัพเดทข่าวแล้วภาพและคลิปข่าวไม่ขึ้นที่หน้าเว็บไซต์

วิธีแก้ไขปัญหา
1 บอกพี่ว่าภาพและคลิปไม่ขึ้นหน้าเว็บเพื่อแจ้งปัญหานี้ไปที่ฝ่ายมีเดียเพื่อทำการแก้ไข
posted by Park-Kachen at 07:41 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 9

วันที่ 27 - 30 ธันวาคม 2553

ทุกๆวันจะไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าว วันละ 2 รอบ มีรอบเที่ยง และรอบเย็น เมื่อได้รับบทข่าวมาแล้วก็ทำการ Runscript ข่าว และตรวสอบดูว่าบทข่าวที่ได้รับมานี้มีข่าวไหนบ้างที่ได้ออกอากาศไปแล้ว และแต่ละเบรกมีข่าวในประเทศ ข่าวต่างประเทศ และ ข่าวกีฬา ทั้งหมดกี่ข่าว จากนั้นก็ทำการค้นหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง  ตัดคลิปข่าวในประเทศ และข่าวเที่ยงบันเทิงทั้งหมด 106 คลิป อัพเดทตารางออกอากาศ 3 วัน อัพเดทข่าวในประเทศ 38 ข่าว อัพเดทรายการปลดหนี้ ณสยาม



ปัญหาและอุปสรรค์
1 อัพเดทข่าวแล้วภาพและคลิปข่าวไม่ขึ้นที่หน้าเว็บไซต์


วิธีแก้ไขปัญหา
1 บอกพี่ว่าภาพและคลิปไม่ขึ้นหน้าเว็บเพื่อแจ้งปัญหานี้ไปที่ฝ่ายมีเดียเพื่อทำการแก้ไข




posted by Park-Kachen at 07:40 0 comments

19 ธันวาคม 2553

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 7

วันที่ 13 - 17 ธันวาคม 2553
ในสัปดาห์นี้ ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม ไปรับบทข่าวที่ฝ่ายข่าวแล้วนำมาหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง เมือ่หาข่าวเสร็จ ทำการตัดคลิปข่าย เพือเป็นข้อมูลในการอัพเดทข่าวในหน้าเว็บ ตัดคลิปข่าวทั้งหมด 130 คลิป อัพเดทรายการ เฮฮาหน้าซอย หนูน้อยกู้อีจู้ คนอวดผี อีเมาท์ 7 สีคอนเสิร์ต ตารางออกอากาศ อพัเดทข่าวทั่วไป ข่าวต่างประเทศ และข่าวบันเทิง ทั้งหมด 30 ข่าว
ปัญหาและอุปสรรค์
1 อัพเดทข่าวแล้วภาพและคลิปข่าวไม่ขึ้นที่หน้าเว็บไซต์

วิธีแก้ไขปัญหา
1 บอกพี่ว่าภาพและคลิปไม่ขึ้นหน้าเว็บเพื่อแจ้งปัญหานี้ไปที่ฝ่ายมีเดียเพื่อทำการแก้ไข


posted by Park-Kachen at 01:22 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 6

วันที่ 7 - 9 ธันวาคม 2553
ในสัปดาห์นี้สบายที่สุดได้ทำงานแค่ 3 วัน แต่ก็เหนื่อยมากที่สุด เพราะมีงานค้างจากวันหยุดที่ผ่านมามากๆ โดยเฉพาะ งานวันพ่อ มีข่าวมากมายเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะได้ทีการเสนอข่าวเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทั้งวัน เมื่อข่าวได้ออกอากาศเสร็จก็ต้องรีบอัพข่าวสารเกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่าท่านเสด็จไปที่ใดบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะมีแต่การอัพเดทข่าวงานวันพ่ออย่างเดียว ยังมีข่าวประจำที่จะต้องทำอยู่เหมือนเดิม ทั้งรายการต่างๆที่จะออกอากาศในสัปดาห์นี้ต้องรีบทำให้เสร็จก่อนวันหยุด มีทั้งรายการ รายการอีเมาท์ รายการรูปสวยรวยรส รายการวันวานยังหวานอยู่ และยังได้ทำฝังรายการออกอากาศในสัปดาห์ถัดไปด้วย ซึ่งทังหมดนี้ก็ทำให้ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น
ปัญหาที่พบในการปฏิบัติงาน
1.บทข่าวที่ได้รับมาส่วนใหญ่จะแฟกซ์มาจากศูนย์ข่าวที่อื่น ซึ่งทางศูนย์ข่าวที่ส่งมาไม่ได้ส่งไฟล์ที่พิมพ์มาด้วย
แนวทางในการแก้ปัญหา
1.พิมพ์เนื้อข่าวตามใบเอกสารแฟกซ์ที่ได้รับมา
posted by Park-Kachen at 01:21 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 5

วันที่ 29 พฤศจิกายน - วันที่ 3 ธันวาคม 2553
ในสัปดาห์ นี้ก็ไม่ต่างจากการทำงานในสัปดาห์ที่ผ่านๆมา ยังคงต้องไปรับบทข่าวเพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการอัพเดทหน้าเว็บ พิมพ์ข่าวที่ไม่มีในเครื่อง Server กลาง การตัดคลิปข่าวที่ออกอากาศไปแล้ว การอัพเดทข่าวบันเทิง อัพเดทรายการ กระจกหกด้าน ปลดหนี้ เกมส์พันหน้า
ปัญหาและอุปสรรค
1 ข่าวที่ทำการค้นในเครื่อง Server กลาง ไม่มี

วิธีแกไขปัญหา
1 ทำการพิมพ์ตามบทข่าวที่ได้รับมาจากฝ่ายข่าว
posted by Park-Kachen at 01:21 0 comments

28 พฤศจิกายน 2553

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 4


วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2553


ในสัปดาห์ที่ 4 ในการทำงานก็เหมือนกับในสัปดาห์ที่ 3 ซึ่งไม่แตกต่างกันมาก ยังคงต้องไปรับบทข่าวเหมือนในสัปดาห์ที่ผ่านๆมา แล้วดำเนินการทำเหมือนทุกวันที่ได้ปฎิบัติมา หลังจากนั้นก็ทำการตัดคลิปข่าวที่ได้ออกอากาศไปแล้ว เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการอัพเดทข่าวสารในหน้าเว็ป อัพเดทข่าวในประเทศ ต่างประเทศทั้งหมด 15 ข่าว ตัดคลิป ทั้งหมด 172 คลิป อัพเดท กิจกรรมนักสู้พันข้าวเหนียว

ปัญหาและอุปสรรค
1 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เกิด Error  จึงไม่สามารถใช้งานได้

วิธีแก้ปัญหา
1 ทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่
posted by Park-Kachen at 19:34 0 comments

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 3

วันที่ 15-19 พฤศจิกายน 2553
ในสัปดาห์นี้ก็ยังคงเป็นเหมือนเดิมกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ในแต่ละวันก็ต้องไปรับบทข่าวที่โต๊ะเรียงบท ฝ่ายข่าว แล้วนำมาทำการเรียงลำดับข่าวและแยกประเภทของข่าว ว่าแต่ละประเภทของข่าวมีทั้งหมดกี่ข่าว หลังจากที่ได้ทำการแยกประเภทข่าวเสร็จ ก็ทำการค้าหาข่าวจากเครื่อง Server กลาง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการอัพเดทข่าวในหน้าเว็บ หลังจากที่ได้ทำการหาบทข่าว ก็ดำเนินการตัดคลิปข่าว เพื่อนำมาเป็นข้อมูลประกอบกับเนื้อหาของข่าว หลังจากที่ได้ทำการตัดคลิปข่าวเสร็จ ก็ทำการอัพเดทข่าวขึ้นในหน้าเว็บ ในแต่ละวันก็จะมีการอัพเดทข่าวทั่วไป ข่าวต่างประเทศ รายการบันเทิง รายการวาไรตี้ และกิจกรรมความเคลื่อนไหวของทางช่อง 7 สี
ปัญหาที่พบในการปฎิบัติงาน
1.บทข่าวที่ได้เรียงลำดับไว้ไม่ตรงกับคลิปที่ออกอากาศ
แนวทางแก้ไขปัญหา
1.แก้ไขเรียบเรียงบทข่าวให้ตรงกับคลิปที่ออกอากาศ
posted by Park-Kachen at 19:34 0 comments

14 พฤศจิกายน 2553

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 2

วันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2553
หลังจากที่ได้ผ่านสัปดาห์ที่ 1 ไปแล้ว ในสัปดาห์ที่ 2 ก็ได้เริ่มทำงานเหมือนกับสัปดาห์ที่ป่านมาซึ่งงานที่ได้ทำในสัปดาห์นี้ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก ในแต่ละวันก็ต้องไปรับบทข่าว แล้วุนำมาทำการแยกประเภทของข่าวแต่ละประเภท แล้วต่ละประเถทมี่ทั้งหมดกี่ข่าว หลังจากที่ได้แบ่งหมวดหมู่ของข่าวแล้ว ก็ทำการหาข่าวจากเครือง Server กลาง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการอัพเดทข่าวในหน้าเว็ป เมื่อหาเสร็จแล้วทำการอัพเดท ข้อมูลต่างๆที่ได้รับมอบหมายให้ทำขึ้นหน้าเว็ปไซต์ ในหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีการอัพเดท ข่าวทั่วไป, ข่าวต่างประเทศ, ข่าวกีฬา, รายการบัญเทิง, รายการ อีเมาท์, รายการ วาไรตี้, รายการคลับสุขภาพ, รายการที่นี่หมอชิต, รายการปลดหนี้, รายการ รูปสวยรวยรส, รายการ กรัจกหกด้าน และกิจกรรมความเคลื่อนไหวทางช่อง 7 สี
ปัญหาที่พบในการปฎิบัติงาน
1.หาเนื้อข่าวไม่เจอ
2.เนื้อหาข่าวมาอยู่ในรูปแบบ เป็นไฟล์เอกสาร ซึ่งไม่ได้อยู่ในรูปแบบ word หรือ Text
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1.ทำการโดยพิมพ์เนื้อหาข่าวตามที่ได้รับมาจากเอกสารใบแฟกซ์ และตามบทข่าวที่ได้รับมา
posted by Park-Kachen at 07:16 0 comments

06 พฤศจิกายน 2553

การปฏิบัติงานสัปดาห์ที่ 1

วันที่ 1 - 5 พฤศจิกายน 2553
 
วันแรกได้ศึกษาเรียนรู้การอัพเดทข่าวสาร และขั้นตอนในการหาข่าว การเขียนลำดับข่าว การแยกข่าวสารออกเป็นหมวดหมู่ การหาบทข่าวที่อยู่ในเครื่อง Server กลาง ศึกษาข่าวแต่ละประเภทว่าอยู่ในหมวดใด
วันต่อมาได้ทำการปฏิบัติงานจริงตามที่ได้ศึกษามา ในแต่ละวันจะต้องไปรับบทข่าวมาทำการ แยกประเภทของข่าวสารว่า อยู่ในหมวดใด และแต่ละหมวดมีข่าวทั้งหมดกี่ข่าว แล้วทำการโดยการไปหาข่าวจากในเครื่อง Server กลาง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการอัพเดทข่าวสาร ส่วนข่าวไหนที่ไม่มีในเครื่อง Server กลาง หรือได้รับมาจากใบแฟกซ์ ก็ทำการโดยพิมพ์เนื้อหาข่าว ตามในเอกสารข่าวหรือใบแฟกซ์ที่ได้รับมาจากศูนย์ข่าวต่างๆ หลังจากที่ได้ข้อมูลมาแล้วก็ได้ทำการอัพเดทข่าวขึ้นเว็บไซต์ของบริษัท ในแต่ละวันก็จีมีการอัพเดท ข่าวทั่วไป, ข่าวในประเทศ, ข่าวต่างประเทศ, ข่าวกีฬา, รายการบันเทิง 7 สีคอนเสิร์ต, อีเมาท์, รายการวาไรตี้ คลับสุขภาพ, ที่นี่หมอชิต, ปลดหนี้, คนอวดผี, รายการข่าว ข่าวผู้เยาว์, รายการเด็ก ดิสนีย์คลับ รายการ สารคดี/ศาสนา คิดคิดคิด, รูปสวยรวยรส, กระจกหกด้าน, ณ สยาม และกิจกรรมช่อง 7 ความเคลื่อนไหว เป็นต้น

ปัญหาในการปฏิบัติงาน
1.หาข่าวในระบบไม่พบ
2.เนื้อหาข่าวมาในรูปแบบ เป็นเอสารใบแฟกซ์ ไม่ได้อยู่ในรูปแบบ word หรือ text file

แนวทางในการแก้ไขปัญหา
1.สอบถามพี่พนักงานว่าควรทำอย่างไร ไปหาจากที่ไหน
2.ทำการพิมพ์เนื้อหาข่าวตามที่ได้รับมาจากใบแฟกซ์
posted by Park-Kachen at 02:48 0 comments

15 ตุลาคม 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

การเรียนการสอนวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

สิ่งที่ผมได้รับจากการเรียนการสอนวิชานี้ก็คือ การเตรียมความพร้อมในการทีจะออกฝึกงานจริงๆในชั้นปีที่4 ในรายวิชาเตรียมฝึกนี้ได้สอนให้ผมได้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมของคนทำงาน ได้สอนถึงหลักจริยธรรมในการประกอบอาชีพในงานธุรกิจไม่ใช่แต่ที่จะกอบโกยผลประโยชน์ให้มากที่สุดแต่เราต้องคำนึงถึงการรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่ไปด้วย ได้สอนให้ผมได้รู้จักการออมการทำบัญชีรายรับรายจ่ายจะได้ทราบถึงที่มาของการใช้เงิน ได้สอนถึงการพัฒนาบุคลิกภาพว่าบุคลิกภาพแบบใดที่บริษัทหรือองค์กรต้องการเวลาทำงานรวมไปถึงการพัฒนาบุคลิกภาพ ในรายวิชานี้ยังได้สอนให้ผมรู้จักดลก IT มากขึ้นเช่นฐานข้อมูลรวมถึงวิทยาการต่างๆทีกำลังจะเกิดในอนาคตรวมถึงระบบสารสนเทศใหม่ๆ และ ยังได้เรียนรู้ว่าวัฒนธรรมข้ามชาติมีความสำคัญในการประกอบธุรกิจยิงเรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติมากเท่าไรทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารทางงานธุรกิจได้ราบรื่นยิ่งขึ้น ได้รู้เทคนิคทางด้านการตลาดต้องมีความคิดสร้างสรรค์บวกกับการที่คิดอะไรนอกกรอบ ทำในสิ่งที่แตกต่างแต่ต้องแตกต่างอย่างสร้างสรรค์เท่ากับว่าเป้นการสร้างค่าให้ตัวเองไปในตัว รวมถึง หลักในการใช้ภาษาไทยได้รู้ถึงลักษณะของภาษาไทย ความแตกต่างลักษณะการพูดออกเสียง เทคนิคในการเขียนและการพูดภาษาไทย นับว่าเป็นประโยชน์กับผมอย่างมากในอนาคตของการสมัครงาน
posted by Park-Kachen at 13:22 0 comments

15 กันยายน 2552

DTS10-09-09-2552


Sorting
ถ้าเราจำเป็นต้องเก็บและค้นหาข้อมูลอยู่เป็นประจำ การเก็บข้อมูลเราก็ต้องจัดเก็บให้เป็นระเบียบ และง่ายในกระบวนการค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ใหม่ เช่นการจัดเรียงหมวดหมู่ของหนังสือในห้องสมุด ต้องมีการจัดการกับรายละเอียดของหนังสือต่างๆ ให้เป็นแฟ้มข้อมูลที่เรียงลำดับตามตัวอักษร เป็นต้น
และในการประกอบการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานด้านคอมพิวเตอร์ ก็มีการจัดเรียงลำดับของข้อมูล โดยวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วแต่กำหนดทำไมเราจึงต้องศึกษาการเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) เพื่อช่วยในการออกแบบอัลกอรึทึม ?
เพราะการเรียงลำดับข้อมูล เป็นงานพื้นฐานที่ใช้ในโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ช่วยทำให้การเรียกใช้งานข้อมูลนั้นๆ มีความสะดวก รวดเร็ว ในการค้นหา มากกว่าการเรียกใช้ข้อมูลที่ไม่มีการลำดับ และทำให้เกิดเทคนิคใหม่ๆที่น่าสนใจและสำคัญอันได้แก่ partial order , recursion , merge , lists , การจัดเก็บ binary tree ในอาร์เรย์ เป็นต้น
อีกทั้ง อัลกอรึทึมที่ใช้เพื่อการเรียงลำดับข้อมูลแต่ละตัวมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวน ชนิดของข้อมูล การกำหนดค่าเริ่มต้น ขนาด และค่าของข้อมูลที่จะทำการเรียงลำดับ สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องรู้ว่าเรามีความต้องการอย่างไรเพื่อที่สามารถจะเลือก อัลกิรึทึมที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับงานของเราได้...

การเรียงข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

1. การเรียงข้อมูลแบบภายใน (Internal Sorting) คือ การเรียงลำดับข้อมูล โดยทั้งหมดต้องจัดเก็บอยู่ในหน่วยความจำหลัก (main memory) ที่มีการเข้าถึงข้อมูลได้เร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้หน่วยความจำสำรอง เช่น ดิสค์ หรือเทปสำหรับการจัดเก็บชั่วคราว ใช้ในกรณีที่ข้อมูลไม่มากเกินกว่าพื้นที่ความจำที่กำหนดให้กับผู้ใช้แต่ละราย
2. การเรียงข้อมูลแบบภายนอก (External Sorting) คือ การ เรียงลำดับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะสามารถเก็บไว้ใน พื้นที่ความจำหลักที่กำหนดให้ได้ในคราวเดียว ดังนั้นข้อมูล ส่วนมากต้องเก็บไว้ในไฟล์ข้อมูลที่อยู่บนดิสค์ เทป เป็นต้น สำหรับการเรียงข้อมูลแบบภายนอกจะต้องคิดถึงเวลาที่ใช้ใน การถ่ายเทข้อมูลจากหน่วยความจำชั่วคราวกับหน่วยความจำหลัก ด้วยเช่นกัน

อัลกอรึทึมสำหรับการเรียงข้อมูล จัดได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1. การเรียงลำดับแบบแลกเปลี่ยน (Exchange Sort)
2. การเรียนลำดับแบบแทรก (Insertion Sort)
3. การเรียงลำดับแบบเลือก (Selection Sort)


Sorting Algorithms
Bubble Sort หลักของการเรียงแบบนี้คือ จะเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนข้อมูล 2 ค่าที่อยู่ติดกันในลักษณะที่เรากำหนด เช่น จากน้อยไปมาก หรือจากมากไปน้อย โดยจะทำการเปรียบเทียบข้อมูลทั้งชุดจนกว่าจะมีการเรียงตามลำดับทั้งหมดขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม

Quick Sort การเรียงลำดับในลักษณะนี้ เป็นการปรับปรุงมาจากการเรียงลำดับแบบ Bubble เพื่อให้การเรียงลำดับเร็วขึ้น วีธีนี้เหมาะกับการเรียงข้อมูลที่มีจำนวนมาก หรือมีขนาดใหญ่ และเป็นวิธีการเรียงข้อมูลที่ให้ค่าเฉลี่ยของเวลาน้อยที่สุดเท่าที่ค้นพบวิธีหนึ่งการเรียงลำดับแบบ Quick Sortจะเป็นการเปรียบเทียบสมาชิกที่ไม่อยู่ติดกัน โดยกำหนดข้อมูลค่าหนึ่ง เพื่อแบ่งชุดข้อมูลที่ต้องการเรียงลำดับออกเป้น 2 ส่วน จากนั้นก็จะทำการแบ่งย่อยชุดข้อมูล 2 ส่วนนั้นลงไปอีก ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆจนข้อมูลแต่ละชุดมีสมาชิกเหลือเพียงตัวเดียวและทำให้ชุดข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับ


Insertion SortInsertion Sort การเรียงลำดับที่ง่ายไม่ซับซ้อน เป็นการนำข้อมูลใหม่เพิ่มเข้าไปในชุดข้อมูลที่มีการเรียงลำดับอยู่แล้ว โดยข้อมูลใหม่ที่นำเข้ามาจะแทรกอยู่ในตำแหน่งทางขวาของชุดข้อมูลเดิม และยังคงทำให้ข้อมูลทั้งหมดมีการเรียงลำดับวิธีนี้เริ่มต้นโดยการเรียงลำดับข้อมูล 2 ตัวแรกของชุดข้อมูล หลังจากนั้นเพิ่มข้อมูลตัวที่ 3 เข้ามา จะมีการเปรียบเทียบค่ากับข้อมูล 2 ตัวแรก และแทรกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และสำหรับการเพิ่มข้อมูลตัวต่อๆไปก็จะทำเหมือนเดิมจนข้อมูลทุกตัวมีการเรียงลำดับขั้นตอนการทำงานของอัลกอริทึม
posted by Park-Kachen at 08:45 0 comments

08 กันยายน 2552

DTS09-02-09-2552

โครงสร้างข้อมูลกราฟ
กราฟ (Graph) เป็นโครงสร้างข้อมูลไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear Data Structure) มีความแตกต่างจากโครงสร้างข้อมูลทรีในบทที่ผ่านมา แต่เป็นลักษณะพิเศษแบบหนี่งของกราฟโดยทรีเป็นกราฟอะไซคลิกที่ไม่มีการวนลูปและการวนถอยกลับ เป็นกราฟเชื่อมกันที่มีเพียงเอจเดียวระหว่างสองโหนด
กราฟมีลักษณะเป็นเซ็ตของจุด (Point) และเซ็ตของเส้น (Line) ซึ่งแต่ละเส้นทำหน้าที่เชื่อมต่อจุดเข้าด้วยกัน แต่ละจุดเรียกว่าโหนด (Node) ของกราฟและเส้นเรียกว่าเอจ (Edge) บางครั้งเอจจะเรียกว่าอาร์ค (Arc) และโหนดเรียกว่าเวอร์ทิค (Vertice) โดยกำหนดให้กราฟ G มีเซ็ตของโหนดเป็น VG และเซ็ตของเอจเป็น EG เช่นในรูปที่ 10.1 VG ={a,b,c,d} และ EG = {1,2,3,4,5,6,7,8} จำนวนสมาชิกที่มีใน VG เรียกว่าออเดอร์ (Order) ของกราฟ ถ้าออเดอร์เท่ากับ 0 คือ กราฟไม่มีสมาชิกเรียกว่านัลกราฟ (Null Graph)

รูปที่ 10.1 ตัวอย่างกราฟที่มีจำนวนสมาชิกออเดอร์เท่ากับ 4
เอาของแต่ละโหนดจะพิจารณาจากการเชื่อมต่อกัน เช่น เอจ 4 เชื่อมโหนด c กับ d และกำหนดเป็น Path (c,d) โดยตำแหน่งของสมาชิกไม่มีความสำคัญ ดังนั้น กราฟในรูปที่ 10.1 จึงเท่ากับกราฟในรูปที่ 10.2 ต่อไปนี้
รูปที่ 10.2 ตัวอย่างกราฟที่เท่ากับกราฟในรูปที่ 10.1 โดยตำแหน่งของโหนดที่ต่างกัน
ในการเชื่อมต่อกันระหว่างสองโหนดอาจมีได้หลาย ๆ เอจ เช่น เอจ 5, 6, และ 7 ซึ่งเป็น Path (b,d) ทั้งหมด เช่นกันไม่มีเอจที่เป็น Path(a,d) บางเอจเชื่อมต่อกันเพียงโหนดเดียวกับตัวเองคือเอจ 8 ที่เป็น Path(a,a) แบบวนลูป

กราฟ G จะเป็นกราฟเรียบง่าย (Simple Graph) ในรูปที่ 10.3 ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ดังนี้
ต้องไม่มีการวนลูปของเอจเกิดขึ้นใน EG หรือมี Path(V,V)
ต้องไม่มีเอจมากกว่าหนึ่งเชี่อมต่อกันระหว่างสองโหนด



รูปที่ 10.3 ตัวอย่างกราฟเรียบง่าย

กราฟ G ถ้าไม่ใช่กราฟเรียบง่ายเรียกว่า มัลติกราฟ (Multigraph)
กราฟ G จะเป็นกราฟต่อกัน (Connected Graph) ก็ต่อเมื่อไม่สามารถแยกออกเป็นสองกราฟ ยกเว้นมีการตัดเอจใดเอจหนึ่งออกไป ส่วนกราฟที่ไม่ต่อกันดังวนรูปที่ 10.4 มีโหนด f และ h ไม่ต่อกับโหนดอื่น


รูปที่ 10.4 ตัวอย่างกราฟที่ไม่ต่อกัน
เส้นทาง
เส้นทางในกราฟ (Path) เป็นการจัดลำดับของเอจที่มีตั้งแต่หนึ่งหรือมากกว่าทำการเชื่อมต่อระหว่างสองโหนด ซึ่งกำหนดเป็น P(Vi,Vj) คือ เส้นทางการเชื่อมระหว่างโหนด Vi กับ Vj และถ้า P(Vi,Vj) มีในกราฟก็จะต้องอยู่ใน EG ดังนั้น ลำดับของเอจจะอยู่ในรูปแบบต่อไปนี้ P(Vi,Vj) = (Vi,X1) (X1,X2) . . . (Xn-1,Xn) (Xn,Vj) และจะได้ความยาวของเส้นทางเป็นจำนวนเอจที่ประกอบรวมกัน จากกราฟเรียบง่ายในรูปที่ 10.3 จะได้เส้นทางระหว่างโหนด b กับ d ดังนี้เส้นทาง 1 P(b,d) = (b,c)(c,d) ความยาวเท่ากับ 2เส้นทาง 2 P(b,d) = (b,c)(c,b)(b,c)(c,d) ความยาวเท่ากับ 4เส้นทาง 3 P(b,d) = (b,d) ความยาวเท่ากับ 1เส้นทาง 4 P(b,d) = (b,c)(c,b)(b,d) ความยาวเท่ากับ 3 โดยทั่วไปเส้นทางที่ต้องการและสนใจเลือกใช้คือ เส้นทางที่วิ่งผ่านโหนดเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะได้เฉพาะเส้นทาง 1 กับ 3 ส่วนเส้นทาง 2 มีการวิ่งผ่านโหนด b และ c สองครั้งและเส้นทาง 4 วิ่งผ่านโหนด b สองครั้ง นอกจากนี้ยังสนใจเฉพาะเอจที่ถูกวิ่งผ่านเพียงครั้งเดียวเช่นกัน เนื่องจากช่วยให้อัลกอริทึมไม้ต้องล่าช้าที่ต้องกลับไปทำงานในเส้นทางเดิม


posted by Park-Kachen at 06:48 0 comments

DTS08-26-08-2552

โครงสร้างข้อมูลทรี
โครงสร้างข้อมูลในบทต่าง ๆ ที่ดังกล่าวผ่านมาเป็นโครงสร้างเชิงเส้น (Linear Data Structure) แต่ละสมาชิกจะมีสมาชิกตัวถัดไปเพียงตัวเดียว สำหรับในบทนี้จะกล่าวถึงโครงสร้างข้อมูลไม่เป็นเชิงเส้น (Nonlinear Data Structure) ซึ่งแต่ละสมาชิกสามารถมีสมาชิกตัวถัดไปได้หลายตัว โดยมีแนวความคิดของโครงสร้างแตกสาขา (Branching Structure) และเป็นที่รู้จักคือ โครงสร้างข้อมูลทรี (Tree) ซึ่งกล่าวถึงในบทนี้กับโครงสร้างข้อมูลกราฟ (Graph)
ทรีทั่วไป
จากลักษณะของทรีทั่วไป (General Tree) มีการกำหนดเป็นระดับซึ่งมีตัวแรก คือรูททรี (Rooted Tree) ซึ่งมีเพียงโหนกเดียวทำหน้าที่เป็นรูท (Root) และมีความแตกต่างจากโหนดอื่น ๆ รูทของทรี T จะกำหนดเป็น Root(T) โดยทรี T เป็นเซตจำนวนที่แน่นอน (Finite Set) ตั้งแต่ 0 หรือมากกว่าของโหนด(V1,V2,….,Vn) ดังนั้น

จะมีเพียงโหนอเดียว(V1) ที่ออกแบบเป็นพิเศษ เรียกว่า Root(T)
โหนดที่เหลือ (V2,….,Vn) จะถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เท่ากับ m≥ 0 ที่ต่อกันเป็นเซตชื่อ T1, T2,…..,Tmจะได้ว่าแต่ละ Ti คือ ทรีและเป็นทรีย่อย
หากทรีใด ๆ ไม่มีโหนดเลยเรียกว่านัลทรี (Null Tree)

รูปที่9.1 ตัวอย่างทรีทั่วไป
จากรูปที่ 9.1 เป็นตัวอย่างทรีที่แสดงแต่ละโหนด โดยใช้ตัวอักษรอยู่ภายในวงกลมและมีรูทของทรี Root(T) = A ทรีย่อยของรูท A ประกอบด้วยรูท B,C,D ซึ่งจะได้ B เป็นรูทของทรีที่มีหนึ่งทรีย่อยของรูท E ที่ไม่มีทรีย่อย ทรีที่มีรูท C จะมีสองทรีย่อยคือที่รูท F และรูท G ตามลำดับ
บางครั้งอาจมีการกำหนดลักษณะให้กับเอจ (Edge) ของทรีมีทิศทาง โดยเอจจะเริ่มจากรูทโหนดไปยังรูทของทรีย่อย ดังในรูปที่ 9.2 เป็นทรีคว่ำในลักษณะของโครงสร้างทรีที่นิยมใช้กันโดยรูทอยู่ด้านบนสุด (Top) ดังที่กล่าวมาโหนดที่ออกแบบเป็นพิเศษ คือ รูท มีความแตกต่างจากโหนดอื่น ๆ ด้วยคุณสมบัติที่ว่า In-degree(v) = 0 for v = Root(T)
รูปที่ 9.2 ตัวอย่างโครงสร้างข้อมูลทรีทั่วไปกับเอจที่มีทิศทาง โหนดที่เป็นรูทจะมีจำนวนเอจหรือกิ่งเข้ามาหรือดีกรรีเข้า (In-degree) เท่ากับ 0 เนื่องจากทรีเป็นกราฟเชื่อมกันจึงมีได้เพียงโหนดเดียวที่มีคุณสมบัตินี้ และมีทรีย่อยของ A ดังในรูปที่ 9.3 ซึ่งมีเอจเชื่อมจาก A ไม่ใช่โหนดในทรีเหล่านี้




รูปที่ 9.3 ทรีย่อยของทรีในรูปที่ 9.2
ทรีทั่วไปที่กล่าวถึงมีความหมายเช่นเดียวกับต้นไม้มที่มีการสืบทอด ดังนั้น ถ้ามี Edge(A,B) จะได้ว่า A เป็นโหนดพ่อ (Parent Node) ของ BและB เป็นโหนดลูก (Child Node)ของAแต่ละโหนดที่เป็นลูกจะมีโหนดพ่อเพียงโหนดเดียว สองโหนดขึ้นไปที่มีโหนดพ่อเดียวกันเรียกว่าโหนดพี่น้อง (Sibling Node) สำหรับโหนดที่มีจำนวนเอสชี้ออกไปหรือดีกรีออกเป็นโหนดที่ไม่มีโหนดลูก
ไบนารี่ทรี
ประเภทของทรีทั่วไปที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ไบนารี่ทรี (Binary Tree) เป็นเซตของโหนดที่มีจำนวนแน่นอนซึ่งอาจจะว่างเปล่าหรือเชื่อมต่อกับสองไบนารี่ทรีที่เรียกว่าทรีย่อยซ้าย (Left Subtree) และบททรีย่อยขวา (Right Subtree) โดยมีข้อกำหนดว่าดีกรีออกมากที่สุดเท่ากับ 2 ซึ่งกำหนดให้เป็นทรีย่อยด้านซ้ายและขวา จากรูปที่ 9.4 (a) และ (b) เป็นไบนารี่ทรีที่แตกต่างกันเนื่องจาก รูป (a) มีทรีย่อยซ้าย ส่วน (b) ไม่เป็นไบนารี่ทรีเนื่องจากมีทรีย่อยไม่ช่ด้านซ้ายหรือขวาแต่ชี้ตรงลงมา
(a) ทรี 1 (b) ทรี 2 (c) ทรี 3
รูปที่ 9.4 ตัวอย่างทรีที่เป็นไบนารี่ทรี (a),(b) ลัไม่ใช่ (c)
ไบนารี่ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากทรีทั่วไป เมื่อพิจารราไบนารี่ทรีที่มี K ระดับในรูปที่ 9.5 จะเรียกว่าไบนารี่ทรีสมบูรณ์ (Complete Binary Tree) ซึ่งจะมีจำนวนโหนดมากที่สุดที่เป็นไปได้ตามความสูงของไบนารี่ทรี จำนวนเอจก็จะเพิ่มเป็นสองเท่าของระดับก่อนหน้ายกเว้นระดับ 0 และจำนวนโหนดมากที่สุดในระดับ I จะได้ว่าไบนารี่ทรีสมบูรณ์ที่มี k ระดับ จะมีโหนดทั้งหมดเท่ากับ 2k-1 เช่น ไบนารี่ทรีสมบูรณ์ที่มี 3 ระดับจะมี 7 โหนด ถ้ามี 10 ระดับ จะมี 1023 โหนด



posted by Park-Kachen at 06:44 0 comments

11 สิงหาคม 2552

DTS07-05-08-2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน เรื่อง Queues (คิว)

คิวเป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลำดับ (Sequential) ลักษณะของคิวเราสามารถพบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเข้าแถวตามคิวเพื่อรอรับบริการต่างๆ ลำดับการสั่งพิมพ์งาน เป็นต้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าลักษณะของการทำงานจะเป็นแบบใครมาเข้าคิวก่อน จะได้รับบริการก่อน เรียกได้ว่าเป็นลักษณะการทำงานแบบ FIFO (First In , First Out)

ลักษณะของคิว จะมีปลายสองข้าง ซึ่งข้างหนึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลเข้าที่เรียกว่า REAR และอีกข้างหนึ่งซึ่งจะเป็นช่องทางสำหรับข้อมูลออก เรียกว่า FRONT
ในการทำงานกับคิวที่ต้องมีการนำข้อมูลเข้าและออกนั้น จะต้องมีการตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่ เมื่อต้องการนำข้อมูลเข้า เพราะหากคิวเต็มก็จะไม่สามารถทำการนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกัน เมื่อต้องการนำข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยเช่นกัน ว่าในคิวมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หากคิวไม่มีข้อมูลก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกได้เช่นกัน
การกระทำกับคิว

การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
การจะเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว จะกระทำที่ตำแหน่ง REAR หรือท้ายคิว และก่อนที่จะเพิ่มข้อมูลจะต้องตรวจสอบก่อนว่าคิวเต็มหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบค่า REAR ว่า เท่ากับค่า MAX QUEUE หรือไม่ หากว่าค่า REAR = MAX QUEUE แสดงว่าคิวเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลได้ แต่หากไม่เท่า แสดงว่าคิวยังมีที่ว่างสามารถเพิ่มข้อมูลได้ เมื่อเพิ่มข้อมูลเข้าไปแล้ว ค่า REAR ก็จะเป็นค่าตำแหน่งท้ายคิวใหม่


การนำข้อมูลออกจากคิว

การนำข้อมูลออกจากคิวจะกระทำที่ตำแหน่ง FRONT หรือส่วนที่เป็นหัวของคิว โดยก่อนที่จะนำข้อมูลออกจากคิวจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่ามีข้อมูลอยู่ในคิวหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลในคิวหรือว่าคิวว่าง ก็จะไม่สามารถนำข้อมูลออกจากคิวได้


คิวแบบวงกลม (Circular Queue)
คิวแบบวงกลมจะมีลักษณะเหมือนคิวธรรมดา คือ มีตัวชี้ FRONT และ REAR ที่แสดงตำแหน่งหัวคิวและท้ายคิวตามลำดับ โดย FRONT และ REAR จะมีการเลื่อนลำดับทุกครั้งเมื่อมีการนำข้อมูลเข้าและออกจากคิว แต่จะแตกต่างจากคิวธรรมดาก็คือ คิวธรรมดาเมื่อ REAR ชี้ที่ตำแหน่งสุดท้ายของคิว จะทำให้เพิ่มข้อมูลเข้าในคิวอีกเมื่อไม่ได้ เนื่องจาก ค่า REAR=MAX QUEUE ซึ่งแสดงว่าคิวนั้นเต็ม ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลเข้าไปได้อีก ทั้งๆ ที่ยังมีเนื้อที่ของคิวเหลืออยู่ก็ตาม ทำให้การใช้เนื้อที่ของคิวไม่มีประสิทธิภาพ


จากรูป แสดงคิวที่ค่า REAR ชี้ที่ตำแหน่งสุดท้ายของคิว ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลเข้าได้อีก

สำหรับคิวแบบวงกลม จะมีวิธีจัดการกับปัญหานี้ คือ เมื่อมีข้อมูลเพิ่มเข้ามาในคิว ในลักษณะดังกล่าว คือ ขณะที่ REAR ชี้ตำแหน่งสุดท้ายของคิว ถ้าหากมีการเพิ่มค่าของ REAR REAR จะสามารถวนกลับมาชี้ยังตำแหน่งแรกสุดของคิวได้ ซึ่งจะทำให้คิวมีลักษณะเป็นแบบวงกลม

แสดงคิวแบบวงกลมที่ REAR สามารถวนกลับมาชี้ที่ตำแหน่งแรกสุดของคิว

คิวแบบวงกลมจากที่กล่าวมาสามารถเพิ่มข้อมูลได้อีก จนกว่าคิวจะเต็มซึ่งแสดงดังรูป






posted by Park-Kachen at 11:43 0 comments

04 สิงหาคม 2552

DTS06-29-07-2552


สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน เรื่อง Stack (ต่อ)

Operation ของสแตค
* การเพิ่มข้อมูลลงในสแตค (pushing stack)
*การดึงข้อมูลออกจากสแตค (popping stack)


การเพิ่มข้อมูลลงในสแตคการเพิ่มข้อมูลลงในสแตค คือ การนำเข้ามูลเข้าสู่สแตคโดยทับข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตค ข้อมูลจะสามารถนำเข้าได้เรื่อยๆ จนกว่าสแตคจะเต็ม สมมติว่าสแตคจองเนื้อที่ไว้ N ตัว ถ้าหากค่า TOP เป็น 0 แสดงว่าสแตคว่าง หากค่า TOP = N แสดงว่าสแตคเต็มไม่สามารถเพิ่มข้อมูลลงในสแตคได้อีก


จากรูปแสดง การ Push ข้อมูล ABC ลงในสแตคที่มีการจองเนื้อที่ไว้ N ตัว โดยมี TOP ชี้ข้อมูลตัวที่เข้ามาล่าสุด โดยค่าของ TOP จะเพิ่มขึ้นทุกครั้งเมื่อมีข้อมูลเข้ามาในสแตค


การดึงข้อมูลออกจากสแตคก่อนที่จะดึงข้อมูลออกจากสแตคต้องตรวจสอบก่อนว่าสแตคมีข้อมูลอยู่หรือไม่ หรือว่าเป็นสแตคว่าง (Empty Stack)
การใช้ สแตค เพื่อแปลรูปนิพจน์ทางคณิตศาสตร์

รูปแบบนิพจน์ทางคณิตศาสตร์
• นิพจน์ Infix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่ระหว่างตัวดำเนินการ (Operands) เช่น A+B-C• นิพจน์ Prefix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หน้าตัวดำเนินการ (Operands) เช่น +-AB

• นิพจน์ Postfix คือ นิพจน์ที่เครื่องหมายดำเนินการ (Operator) อยู่หลังตัวดำเนินการ (Operands) เช่น AC*+

ลำดับการทำงานของตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Operator Priority)

มีการลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการจากลำดับสำคัญมากสุดไปน้อยสุด คือ ลำดับที่มีความสำคัญมากที่ต้องทำก่อน ไปจนถึงลำดับที่มีความสำคัญน้อยสุดที่ไว้ทำทีหลัง ดังนี้

1.ทำในเครื่องหมายวงเล็บ
2.เครื่องหมายยกกำลัง ( ^ )
3.เครื่องหมายคูณ ( * ) , หาร ( / )
4.เครื่องหมายบวก ( + ) , ลบ ( - )

ตัวอย่างนิพจน์ทางคณิตศาสตร์และลำดับการคำนวณ

อัลกอริทึมการแปลงนิพจน์ Infix เป็น นิพจน์ Postfix
เราสามารถแปลงนิพจน์ Infix ให้เป็น Postfix ได้โดยอาศัยสแตคที่มีคุณสมบัติการเข้าหลังออกก่อนหรือ LIFO โดยมีอัลกอริทึมในการแปลงนิพจน์ ดังนี้
1. ถ้าข้อมูลเข้า (input) เป็นตัวถูกดำเนินการ (operand) ให้นำออกไปเป็นผลลัพธ์ (output)
2. ถ้าข้อมูลเข้าเป็นตัวดำเนินการ (operator) ให้ดำเนินการดังนี้
2.1 ถ้าสแตคว่าง ให้ push operator ลงในสแตค
2.2 ถ้าสแตคไม่ว่าง ให้เปรียบเทียบ operator ที่เข้ามากับ operator ที่อยู่ในตำแหน่ง TOP ของสแตค
2.2.1 ถ้า operator ที่เข้ามามีความสำคัญมากกว่า operator ที่ตำแหน่ง TOP ของสแตคให้ push ลงสแตค2.2.2 ถ้า operator ที่เข้ามามีความสำคัญน้อยกว่าหรือเท่ากับ operator ที่อยู่ในตำแหน่ง TOP ของสแตค ให้ pop สแตคออกไปเป็นผลลัพธ์ แล้วทำการเปรียบเทียบ operator ที่เข้ามากับ operator ที่ตำแหน่ง TOP ต่อไป จะหยุดจนกว่า operator ที่เข้ามาจะมีความสำคัญมากกว่า operator ที่ตำแหน่ง TOP ของสแตค แล้วจึง push operator ที่เข้ามานั้นลงสแตค
3. ถ้าข้อมูลเข้าเป็นวงเล็บเปิด ให้ push ลงสแตค
4. ถ้าข้อมูลเข้าเป็นวงเล็บปิด ให้ pop ข้อมูลออกจากสแตคไปเป็นผลลัพธ์จนกว่าจะถึงวงเล็บ เปิด จากนั้นทิ้งวงเล็บเปิดและปิดทิ้งไป
5. ถ้าข้อมูลเข้าหมด ให้ pop ข้อมูลออกจากสแตคไปเป็นผลลัพธ์จนกว่าสแตคจะว่าง

ตัวอย่างการแปลงนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ Postfix




posted by Park-Kachen at 07:43 0 comments

28 กรกฎาคม 2552

DTS05-22-07-2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน เรื่อง Linked list (ต่อ)
Circular Linked list
ในปกติ Linked list เมื่อถึงโหนดสุดท้าย ค่าในฟิลด์ LINK หรือ โหนดถัดไปจะมีค่าเป็น NULL ซึ่งเราสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยการเปลี่ยนให้ ค่า NULL ในฟิลด์ LINK เป็นตำแหน่งของโหนดแรกในลิสต์ หรือชี้ไปที่ต้นลิสต์ใหม่นั่นเอง ซึ่งเราจะเรียก Linked list แบบนี้ว่า Circular Linked list ใช้ประโยชน์เมื่อต้องการให้ข้อมูลมีลักษณะเป็นวนรอบหรือลูป โดยแต่ละขั้นตอนการทำงานภายในลูป จะมีการย้ายตำแหน่งของพอยน์เตอร์ไปยังโหนดถัดไปใน Linked list ในลักษณะแบบวงกลม
Doubly Linked list


Doubly linked list ประกอบด้วยส่วนของ Info และ พอยน์เตอร์ที่ชี้ไป 2 ทิศทาง คือ ชี้ไปยังโหนดถัดไป และชี้ไปยังโหนดก่อนหน้า ดังนั้นเราจึงสามารถทำการอ่านข้อมูลได้ 2 วิธี คือ การอ่านไปข้างหน้า และอ่านไปทางข้างหลัง





การเพิ่มข้อมูลใน doubly linked list

การเพิ่มข้อมูลใน doubly linked list จะแตกต่างจาก Singly Linked list คือ สามารถเพิ่มโหนดให้อยู่หน้าโหนดที่ระบุได

ตัวอย่างการเพิ่มข้อมูล node (Q) ให้อยู่หน้า node (P)

สแตค (Stack
สแตคเป็นโครงสร้างข้อมูลที่มีลักษณะแบบลำดับ (sequential) คือการกระทำกับข้อมูลจะกระทำที่ปลายข้างเดียวกันที่ส่วนปลายสุดของสแตค การกระทำกับข้อมูลของสแตคประกอบไปด้วยการนำเข้าข้อมูลเข้า (PUSH) ที่ส่วนบนสุดของสแตค และการนำข้อมูลออก (POP) ที่ส่วนบนสุดของสแตคเช่นกัน ในการจะ Push ข้อมูลเข้าก็ต้องตรวจสอบด้วยว่าข้อมูลในสแตคเต็มหรือไม่ หากสแตคเต็มก็จะไม่สามารถ Push หรือนำข้อมูลเข้าได้ เช่นเดียวกับการ Pop ข้อมูลออกก็ต้องตรวจสอบด้วยว่ามีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือไม่ หากไม่มีข้อมูลอยู่ในสแตคหรือสแตคว่าง (empty stack) ก็ไม่สามารถ pop ได้การนำข้อมูลเข้า-ออก จากสแตค (push , pop) จะมีลักษณะแบบเข้าหลัง ออกก่อน (LIFO : Last In , First Out) คือ ข้อมูลที่เข้าไปในสแตคลำดับหลังสุด จะถูกนำข้อมูลออกจากสแตคเป็นลำดับแรก ยกตัวอย่างการทำงานแบบ LIFO เช่น การวางจานซ้อนกัน

รูปแสดงลักษณะของสแตค ที่ประกอบด้วยข้อมูล A , B , C , D และ E มี TOP ที่ชี้ที่สมาชิกตัวบนสุดของสแตค


Stack ที่พบในชีวิตประจำวัน คือ กล่องที่ใส่ CD
posted by Park-Kachen at 06:17 0 comments

20 กรกฎาคม 2552

DTS04-15-07-2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน Set & String และ Linked lists


การสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถทำได้ทั้งแบบที่กำหนดตัวแปรและแบบที่ให้ค่าเริ่มต้น จะสร้างเมื่อสตริงมีจำนวนมาก เพื่อช่วยให้เขียนโปรแกรมได้สะดวกขึ้น




ARAY ของสตริงที่ยาวไม่เท่ากัน ทำได้เฉพาะเมื่อมีการกำหนดค่าเริ่มต้นเท่านั้น




ตัวอย่าง code




ผลการรันโปรแกรม
Data structure
English
Programming
Photoshop
Systems Analysis


ARAY ของสตริงที่ยาวเท่ากัน ถือว่าเป็นอะเรย์ที่แท้จริง สามารถกำหนดได้ทั้งเมื่อกำหนดตัวแปรและเมื่อมีการให้ค่าเริ่มต้น โดยดำเนินการแบบกำหนดอะเรย์ 2 มิติ

ตัวอย่าง code ผลการรันโปรแกรม
Olive
Mango
Apple

Linked Lists
ลิงค์ลิสต์เป็นการจัดเก็บชุดข้อมูลเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปตามลำดับ ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะแบบเชิงเส้นตรง (linear) หรือ ไม่เป็นเส้นตรง (nonlinear) ก็ได้ ซึ่งในลิสต์จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เรียกว่าโหนด (node) ในหนึ่งโหนดจะประกอบด้วยส่วนของข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เรียกว่าส่วน Info และส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดถัดไป (Link) หรือชี้ไปยังโหนดอื่นๆที่อยู่ในลิสต์ หากไม่มีโหนดที่อยู่ถัดไป ส่วนที่เป็นพอยน์เตอร์หรือ Link จะเก็บค่า NULL หรือ NILL ใช้สัญลักษณ์ ^



โหนด (Node)

การสร้าง Linked list
วิธีสร้าง Linked list คือการนำข้อมูลที่จะจัดเก็บเข้า Linked list เพิ่มตรงโหนดตำแหน่งสุดท้ายของลิสต์ ฉะนั้นจึงต้องมี External พอยน์เตอร์ที่คอยชี้โหนดสุดท้ายของลิสต์ ในที่นี้ใช้ L (Last) ตัวอย่างการสร้าง Linked list จากลิสต์ L = 21 , 5 , 14เริ่มจากการให้ H ชี้ทิ่โหนดตำแหน่งแรก และ L ชี้ทิ่โหนดตำแหน่งสุดท้าย








ข้อมูล 5 เข้าไปใน list , L ชี้ไปยังโหนดที่เก็บข้อมูล 5






เพิ่มข้อมูล 14 เข้าไปใน list , L ชี้ไปยังโหนดที่เก็บข้อมูล 14








การเพิ่มและลบข้อมูลใน Linked list

การเพิ่มข้อมูลที่ต้น list














จากรูป จะเพิ่ม NODE(tmp) ลงใน linked list โดยมีขั้นตอนคือ
tmp = new ListNode();
tmp.element = 12;
tmp.next = current.next;

การเพิ่มข้อมูลโดยแทรกลงในลิสต์
การเพิ่มข้อมูลจะทำการแทรกโหนด New หลังโหนด P


ตัวอย่าง ทำการเพิ่มข้อมูลโหนด 16 ระหว่างโหนด 21 และ 5





















จากรูปมีขั้นตอนดังนี้
tmp = new ListNode();
tmp.element = 16;
tmp.next = current.next;
current.next = tmp

การลบข้อมูลใน Linked list
การลบข้อมูลที่ต้น list
เนื่องจากขั้นตอนของการลบข้อมูลที่ header นั้นจะมีปัญหาที่ยุ่งยากกว่าเมื่อ design ด้วย oop(java) เราสามารถที่จะแก้ปัญหานี้ได้โดยการใส่ header node ที่ว่าง ๆ ไว้ข้างหน้าของ linked list เพื่อที่จะทำหน้าที่เป็นชี้ว่าเป็นหัวโหนดโดยที่ไม่ต้องมี pointer คอยชี้ที่ header และเมื่อเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใด ๆ บนหัวสามารถที่จะทำได้โดยการแทรก node เข้าไปดังตัวอย่างของการแทรกข้อมูลข้างล่าง







จากรูปมีขั้นตอนดังนี้

tmp.next = tmp.next.next





posted by Park-Kachen at 05:33 0 comments

13 กรกฎาคม 2552

DTS03-01-07-2552

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียน เรื่อง Pointer และ Set



Pointer
การกำหนดตัวแปร Pointer จะคล้ายกับการกำหนดตัวแปรชนิดต่างๆ เพียงแต่ต้องมีเครื่องหมาย * หน้าชื่อตัวแปร ดังนี้
int *pt;



char *pt;



ในที่นี้กำหนดให้ pt เป็นตัวแปร Pointer ซึ่งเก็บ Address ของตัวแปรชนิดตัวเลขจำนวนเต็ม
ในเรื่อง Pointer มีเครื่องหมาย 2 ชนิด คือ * และ & เครื่องหมาย * จะให้ค่า ของข้อมูล ซึ่งเก็บอยู่ใน Address โดย Address นี้เก็บ อยู่ในตัวแปร Pointer ซึ่งอยู่หลังเครื่องหมาย * สำหรับเครื่องหมาย & จะให้ค่า Address ของตัวแปรซึ่งอยูหลังเครื่องหมาย & ดังตัวอย่าง


การประกาศตัวแปรPointer
ต้องมีระบุตัวดำเนินการ (Operator) เพื่อบอกว่าตัวแปรดังกล่าวเป็นตัวแปรแบบตัวชี้ โดยตัวดำเนินการที่ใช้คือ * และ & เช่น จะประกาศตัวแปรชนิดPointer คือ int *countPtr; ในที่นี้หมายถึง ตัวแปร countPtr ถูกประกาศให้เป็นตัวแปรชนิด Pointer และทำหน้าที่ชี้ (เก็บ Address) ไปยังตำแหน่งที่เก็บค่าจำนวนเต็ม(เป็นชนิดเดียวกับที่เราประกาศไว้ ในที่นี้คือ Integer)

ตัวอย่าง code

int x = 10;

int *xPtr;

xPtr = &x; //ชี้ไปยังตำแหน่ง x
จะได้ว่า



หมายความว่า : Pointer xPtr ชี้ไปยังตำแหน่งเดียวกับ ตัวแปร x ซึ่งเก็บค่า 10 ไว้


pointer กับ array
pointer และ array มันถูกนำมาอธิบายไว้ด้วยกัน เพราะ pointer กับ array มีหลายอย่างที่คล้ายๆ กัน และอันที่จริงเราสามารถสร้าง array จาก pointer ได้ ซึ่งแม้จะมีข้อเสียที่ใช้งานได้ยากกว่า แต่ก็มีข้อดีที่ทำงานได้เร็วกว่าPointer และ array มักถูกนำมาใช้ร่วมกันอยู่เสมอเนื่องจาก array เป็นข้อมูลในหน่วยความจำที่เรียงติดกันไป เราจึงอาจใช้ pointer เพื่อวนเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น ดังโค้ดต่อไปนี้ จะเห็นได้ว่าการใช้ pointer เข้าถึงข้อมูลใน array (array element) โดยตอนแรกเราสร้าง array ชื่อ myArray จากนั้นสร้าง pointer ที่ชี้ไปยัง array ชื่อ ptArray คำสั่ง fixed ทำหน้าที่ตั้งให้ pointer ชี้ไปยังตัวแปรแบบ managed และตรึงค่าของตัวแปรไว้ไม่ให้เปลี่ยนตำแหน่งระหว่างโปรแกรมทำงาน
ผลลัพธ์เมื่อโปรแกรมทำงานคือ 1234

posted by Park-Kachen at 03:53 0 comments

28 มิถุนายน 2552

DTS02-24-06-2552

ARRAYอะเรย์ เป็นโครงสร้างข้อมูลประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่ ในการจัดเก็บสมาชิกแต่ละตัวจะมีขนาดเท่ากันและเรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลัก การกำหนดอะเรย์จะต้องกำหนดชื่อตัวแปรบอกมิติของอะเรย์นั้น จะพิจารณาตาม ประเภทของอะเรย์ในมิติต่างๆ ดังนี้

-อะเรย์ 1 มิติ

-อะเรย์ หลายมิติ
1. อะเรย์ 1 มิติ มีรูปแบบ คือ data-type array-name[expression] เช่น int num[3] หมายถึง การจองพื้นที่ในหน่วยความจำหลักสำหรับ num ให้เป็นตัวแปรชุดชนิด integer ขนาด 3 สมาชิก โดยเรียก สมาชิกตัวที่ 1 เป็น num[0] เรียงไปเรื่อยๆ จนถึงสมาชิกตัวที่ 3


2. อะเรย์ 2 มิติ มีรูปแบบ คือ data-type array-name[n][m]โดยที่ n = ตัวเลขที่แสดงตำแหน่งของแถวm = ตวเลขที่แสดงตำแหน่งของคอลัมน์เช่น char b[3][3]; หมายถึง การจองพื้นที่ ในหน่วยความจำหลัก จำนวน 9ที่ สำหรับตัวแปร b โดยที่จำนวนสมาชิกของอะเรย์หาได้จาก จำนวนแถว x จำนวนคอลัมน์

ยกตัวอย่าง

col1 col2 col3
row1 b[0][0] b[0][1] b[0][2]
row2 b[1][0] b[1][1] b[1][2]
row3 b[2][0] b[2][1] b[2][2]



RECORD OR STRUCTURE
record เป็นการกำหนดข้อมูลให้เป็นรูปแบบของ structurestructure เป็นโครงสร้างที่สมาชิกมีประเภทของข้อมูลต่างกัน โดยอาจเป็นจำนวนเต็ม ทศนิยม อะเรย์ อักขระ พอยเตอร์ และ structure ด้วยกัน

ตัวอย่าง อะเรย์ชนิดโครงสร้าง

struct struc-name{

type name1;

type name1;

type name1;

............

type name-n;

struct-array variable;

}


อะเรย์ชนิดโครงสร้างรูปแบบการอ้างถึง คือ struct-array-name[subscript].member-name
ตัวอย่างเช่น



#include "stdio.h"
#include "conio.h"
void cal(infor)
struct fee{
char name[20];
char faculty[30];
char majority[50];
int math;

int thai;
int english;
int programming;
int multimedia;
} infor;
{
int y;
clrscr();
printf("name : %s\t",infor.name);
printf("faculty : %s\n",infor.faculty);
printf("majority : %s\n",infor.majority);
y = infor.math + infor.thai + infor.english + infor.programming + infor.multimedia;
printf("%d baht\n",y*250);
}
main()
{
struct fee{
char name[20];
char faculty[30];
char majority[50];
int math;
int thai;
int english;
int programming;
int multimedia; };
struct fee student;
printf("Enter name :");
gets(student.name);
printf("Enter faculty :");
gets(student.faculty);
printf("Enter majority :");
gets(student.majority);
printf("Enter math credit :");
scanf("%d",&student.math);
printf("Enter thai credit :");
scanf("%d",&student.thai);
printf("Enter english credit :");
scanf("%d",&student.english);
printf("Enter programming credit :");
scanf("%d",&student.programming);
printf("Enter multimedia credit :");
scanf("%d",&student.multimedia);
cal(student);
}
posted by Park-Kachen at 00:36 0 comments

27 มิถุนายน 2552

ประวัติ


นายขวัญเมือง คเชนทร
Mr.Khwanmuang Kachentorn
หลักสูตร การบริหารธุรกิจ (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะ วิทยการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
E-mail :
u50172792027@gmail.com


posted by Park-Kachen at 22:34 0 comments